ข่าวสารบัญชี - การเงิน - ภาษี |
โครงการรับจำนำข้าวกับสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการค้าข้าวไทย
ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อตุลาคมปีก่อน รัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรในราคาสูงเป็นประวัติการณ์ โดยรับซื้อข้าวเปลือกเจ้าสูงสุดที่ตันละ 15,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิสูงสุดที่ตันละ 20,000 บาท ในปริมาณไม่จากัด และในฤดูเพาะปลูกข้าวนาปรังปีนี้ รัฐบาลยังคงเดินหน้าสานต่อนโยบายเดิม โดยมุ่งหวังจะยกระดับรายได้ของชาวนาไทยให้สูงขึ้น ถึงวันนี้ คาถามที่น่าสนใจ คือ โครงการรับจำนำข้าวได้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวหรือไม่?
จากข้อมูลของกรมการค้าภายใน ในฤดูเพาะปลูกนาปี 2554/55 มีผลผลิตข้าวที่เข้าร่วมโครงการเพียง 1 ใน 3 ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งหมด สาเหตุหนึ่งที่สาคัญ คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวในฤดูนาปีกลุ่มหนึ่งเพาะปลูกเพื่อกินเอง มิได้เพื่อขายสร้างรายได้ ส่วนโครงการรับจำนำข้าวเปลือกในฤดูนาปรังปี 2555 คาดว่ามีเกษตรกรนาผลผลิตไปจำนำมากขึ้นเป็นร้อยละ 80 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรในภาคกลาง ทาการเพาะปลูกเชิงพาณิชย์บนผืนแปลงขนาดใหญ่ ใช้เครื่องจักรทันสมัย และสามารถทาการเพาะปลูกได้ปีละ 2-3 หน ทาให้เงินอุดหนุนของรัฐบาลส่วนใหญ่กระจุกอยู่ที่เกษตรกรในภาคกลาง
ถ้ามองในเชิงโครงสร้าง โครงการรับจำนำถูกออกแบบมาเพื่อพยุงราคาในตลาดให้สูงขึ้น รัฐบาลจึงเชื่อว่า การรับซื้อข้าวจากเกษตรกรในราคาสูงและในปริมาณมากระดับหนึ่งจะสามารถพยุงราคาข้าวในประเทศและในตลาดโลกให้สูงขึ้นได้ แล้วประโยชน์จะตกอยู่กับพี่น้องเกษตรกรทุกคน ไม่ว่าจะขายให้กับรัฐบาลหรือภาคเอกชน แต่ปรากฏว่า โครงการรับจำนำช่วยพยุงให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศได้ประมาณตันละ 1,300-1,700 บาท ( คานวณจากส่วนต่างราคาข้าวไทยกับเวียดนามที่สูงขึ้นเป็นตันละ 100-120 ดอลลาร์ สรอ. จากระดับส่วนต่างปกติที่ตันละ 30 ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากภาวะการค้าข้าวในตลาดโลกมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นมาก ทาให้ราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้นต่าที่เกษตรกรขายนอกโครงการให้ภาคเอกชนขณะนี้ยังต่ากว่าตันละ 1 หมื่นบาทเท่านั้น ซึ่งยังต่ากว่าราคาแทรกแซงประมาณตันละ 5,000 บาท ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ในตลาดการค้าข้าว รัฐบาลมิได้มีอานาจในการกาหนดราคาข้าวเปลือกในประเทศได้มากดังที่คาด และไทยก็ไม่สามารถพยุงราคาในตลาดโลกได้ดังที่เข้าใจแม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกก็ตาม
นอกจากนี้ ความพยายามของรัฐบาลที่จะยกระดับรายได้ของชาวนาไทยได้สร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการค้าข้าว ให้คนไทยกลุ่มต่างๆ อาทิ เกษตรกร โรงสี ผู้ส่งออก และประชาชนที่บริโภคข้าว ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ จากปีที่ผ่านมา ดังนี้
เกษตรกร ขยายการเพาะปลูกมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกในฤดูนาปรังปี 2555 จะเพิ่มขึ้นเป็น 16.9 ล้านไร่ เพราะแน่ใจว่ารัฐบาลจะยินดีรับซื้อในจานวนทั้งหมดและในราคาสูง ดังนั้น วิธีการสร้างรายได้ของเกษตรกรภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่นี้ คือ เพาะปลูกให้ได้ผลผลิตมากที่สุดเพื่อมาจาหน่ายให้รัฐบาล โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของราคาที่จะขายได้ ผลลัพธ์นอกจากจะทาให้ผลผลิตล้นตลาดแล้วจะยิ่งกดดันให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศลดลงสวนทางกับเจตนารมณ์ของรัฐบาล และที่สาคัญคือยังทาให้เกษตรกรลดความพยายามในการบริหารจัดการต้นทุนและการดูแลคุณภาพผลผลิตลง ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของชาวนาไทยเมื่อต้องเผชิญกับโลกความเป็นจริงเมื่อมาตรการภาครัฐสิ้นสุดลงในภายหลัง
โรงสี มีแหล่งรายได้ใหม่จากการให้รัฐบาลเช่าเก็บข้าว จูงใจให้โรงสีสร้างโกดังใหม่รองรับความต้องการใช้พื้นที่เก็บข้าวที่เพิ่มขึ้นมาก ปรากฏการณ์นี้กาลังเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในภาคอีสาน ซึ่งจะทาให้โรงสีมีพื้นที่โกดังเก็บข้าวสูงเกินผลผลิตจริงโดยไม่จาเป็น
ผู้ส่งออก มีต้นทุนซื้อข้าวในประเทศสูงเกินความเป็นจริงจากการแทรกแซงราคา ทาให้สูญเสียตลาดให้คู่แข่งในประเทศเวียดนามและอินเดีย จากตัวเลขการส่งออกข้าวล่าสุดของกรมศุลกากร ในไตรมาสแรกปีนี้ ไทยส่งออกข้าวได้เพียงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และปีนี้ไทยอาจเสียตาแหน่งผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกให้แก่เวียดนาม และอาจตกไปอยู่อันดับ 3 รองจากอินเดีย
รัฐบาล สะสมสต็อกข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นจากการรับซื้อข้าวเปลือกในฤดูนาปี 2554/55 จานวน 7 ล้านตัน และฤดูนาปรังปีนี้คาดว่าอีกประมาณ 9 ล้านตัน รวมเป็นปีละประมาณ 16 ล้านตัน ซึ่งแปลงเป็นข้าวสารได้ประมาณ 8-10 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นจานวนที่เท่ากับการส่งออกปกติของภาคเอกชนรวมทั้งปี ท้ายที่สุด รัฐบาลก็ต้องระบายสินค้าออกเพราะข้าวที่ถูกกองเก็บนานเกิน 2 ปีจะเสียสภาพจนขายไม่ได้ราคา ทาให้รัฐบาลสูญเสียความสามารถในการพยุงราคาข้าวในประเทศ จาต้องขายข้าวถูกรับซื้อข้าวแพงจากเกษตรกรต่อไป และประเทศชาติต้องรับภาระขาดทุนประมาณ 0.7-1.2 แสนล้านบาทต่อปี เทียบเท่ากับเงินลงทุนสร้าง Floodway
นอกจากนี้ กระบวนการระบายข้าวของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยก็มักจะมีคาถามเรื่องความโปร่งใส แต่ถึงแม้สมมติได้ว่า รัฐบาลมีการดาเนินการที่โปร่งใสก็จะมีแต่ผู้ส่งออกรายใหญ่ที่มีเงินทุนและฐานลูกค้าที่เหนือกว่ารายเล็กชนะประมูลข้าว ทาให้ผู้ส่งออกรายย่อยได้รับผลกระทบจากโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โครงการรับจำนำเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการบริหารของรัฐบาล เสมือนคันไถของชาวนาที่ไม่ควรกล่าวโทษเมื่อผลผลิตไม่งอกงาม แต่สิ่งสำคัญคือการใช้เครื่องมือนี้ให้ถูกต้องเหมาะสม โดยนามาใช้แต่ในยามจำเป็น คือ ในช่วงที่ราคาตกต่ากว่าต้นทุน เพื่อเป็นปราการด่านสำคัญป้องกันไม่ให้เกษตรกร
ประสบปัญหาการเงินหรือติดกับดักหนี้ และที่สาคัญที่สุด นโยบายของรัฐบาลควรมุ่งสนับสนุนให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของตนทั้งในด้านตลาดและด้านต้นทุน ซึ่งเป็นหัวใจที่ทาให้เกษตรกรสามารถยืดหยัดบนสมรภูมิการค้าโลกได้อย่างยั่งยืนด้วยความภาคภูมิใจ
ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2555
|