Product
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ข่าวสารบัญชี - การเงิน - ภาษี

ถอดรหัสเงินกองทุนตาม Basel 3

ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในระหว่างที่เกณฑ์สากลในการดูแลความมั่นคงของธนาคารพาณิชย์ ที่เรียกกันว่า Basel ได้มีการปรับปรุงมาถึง version ที่ 3 แล้ว ชาวธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) ก็ได้มาเล่าสู่กันฟังในเรื่องเกี่ยวกับ Basel 3 ในฐานเศรษฐกิจกันตั้งแต่ปีก่อน ว่าทาไมถึงต้องมี Basel 3 และต่อด้วย Basel 3 คืออะไร โดยท่านที่สนใจบทความย้อนหลังก็สามารถหาอ่านได้ใน website ของ ธปท. ที่รวมบทความจากแหล่งต่างๆไว้ ที่ http://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Pages/others.aspx ดังนั้น การที่ธปท. เริ่มออกนโยบายเกี่ยวกับคุณสมบัติของตราสารการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel 3 ไปเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ ก็เลยเป็นโอกาสอันดีที่เราน่าจะมาถอดรหัสเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตามแนวทางดังกล่าวกันอีกสักครั้ง

หัวใจของเอกสาร 15 หน้า ซึ่ง ธปท. ออกมาในครั้งนี้ อาจถอดรหัสได้สั้นๆ ว่า ธปท. มีการออก หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเงินกองทุนตามแนวทาง Basel 3 ที่จะมีผลเต็มที่ในปี 2556 ที่จะมาถึงนี้ โดยจะแบ่งเงินกองทุนออกเป็น 2 ชั้น คือ เงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เน้นแหล่งเงินทุนที่มีคุณสมบัติของความเป็นเจ้าของสูงโดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 นี้ จะมีสององค์ประกอบ องค์ประกอบส่วนแรกเป็นส่วนของเจ้าของที่มีหุ้นสามัญเป็นหลัก เรียกว่า Capital Equity Tier 1 หรือ CET 1 และองค์ประกอบที่ 2 ที่เรียกว่า Additional Tier 1 ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินที่ยังมีคุณสมบัติของความเป็นเจ้าของค่อนข้างสูง ส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่เรียกว่า Additional Tier 2 นั้น เป็นตราสารทางการเงินที่เริ่มมีคุณสมบัติของความเป็นเจ้าหนี้มากขึ้น แต่ก็ยังเป็นแหล่งเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ที่ยังมีความมั่นคงอยู่มาก

หลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยทุนชั้นที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของนั้น ค่อนข้างจะชัดเจนอยู่ในตัวเองแล้วว่าเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น แต่ในส่วนของตราสารทางการเงินที่จะนับเป็นทุนใน Additional Tier 1 และ Additional Tier 2 ได้นั้น น่าจะมาแจกแจงกันอีกสักนิดว่าการเพิ่มคุณสมบัติของความเป็นเจ้าของเข้าไปในตราสารประเภทนี้ทากันอย่างไร เราอาจเริ่มต้นจากหลักการสาคัญที่ทาให้เจ้าของต่างจากเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ เจ้าของต้องมีความเป็นคู่ทุกข์คู่ยากกับธนาคารพาณิชย์ ต้องร่วมกันกาไรร่วมกันขาดทุน แล้วก็น่าจะต้องอยู่กันไปนานๆ ดังนั้น คุณสมบัติสาคัญของตราสารทางการเงินที่จะเข้าหลักเกณฑ์นี้ไม่ว่าจะเป็นหุ้นบุริมสิทธิ หรือว่าตราสารหนี้ ก็จะต้องไม่มีการเสนอผลตอบแทนในลักษณะที่จะปรับสูงขึ้นเป็นขั้นบันได ที่เรียกว่า step-up เพราะไม่เช่นนั้นถึงเวลาที่ผลตอบแทนของตราสารนี้สูงขึ้นสูงขึ้น ในขณะที่ผลตอบแทนในท้องตลาดไม่สูงเท่า ก็จะเกิดแรงจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ไถ่ถอนตราสารนั้น เพื่อออกตรา

สารตัวใหม่มาแทนในอัตราผลตอบแทนที่ต่าลง ความเป็นเจ้าของที่จะอยู่กันไปนานๆ ก็เลยหมดไป นอกจากนี้ เวลาที่ธนาคารพาณิชย์ตกทุกข์ได้ยาก เช่นว่าเงินกองทุนลดต่าลงถึงระดับที่กาหนดไว้ ตราสารที่อยู่ในเงินกองทุนชั้นที่ 1 ก็อาจถูกแปลงเป็นหุ้นสามัญ หรืออาจถูกลดมูลค่าลง เพื่อให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้น หรือว่าถ้าถึงขนาดที่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถดาเนินกิจการต่อไปได้จนทางการต้องเข้าช่วยเหลือธนาคารพาณิชย์นั้น ตราสารประเภทนี้ทั้งในชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 ก็ต้องสามารถรองรับผลขาดทุนของธนาคารพาณิชย์นั้นได้ เช่น ถูกแปลงเป็นหุ้นสามัญหรือตัดสูญไป

ดังนั้น ในปี 2556 ธนาคารพาณิชย์ที่จะออกตราสารทางการเงินเพื่อเพิ่มเงินกองทุนก็จะต้องมีคุณสมบัติดังที่กล่าวแล้วนี้ โดย ธปท. กาหนดว่าต้องมีสัดส่วนของ CET 1 ไม่ต่ากว่าร้อยละ 4.5 มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ทั้งหมด ซึ่งก็คือ CET 1 รวมกับ Additional Tier 1 แล้วต้องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 และมีสัดส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้น อันประกอบด้วยเงินกองทุนชั้นที่1 ทั้งหมดรวมกับเงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องไม่ต่ากว่าร้อยละ 8.5 ดังนั้น การมีหลักเกณฑ์ทั้งหมดนี้ก็จะเพิ่มความมั่นคงให้กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจและประชาชนที่ใช้บริการกับธนาคารพาณิชย์อุ่นใจได้มากขึ้น จึงเห็นได้ว่าแม้ระบบธนาคารพาณิชย์จะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการประกอบธุรกิจ แต่ก็น่าจะยอมรับกันได้ว่าผลที่ได้รับนั้นคุ้มค่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริง

 

เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับวันที่ 29 - 31 มีนาคม 255 5

 

HOME    ::    PRODUCT    ::    DOWNLOAD   ::    WEBBOARD    ::    CONTACT

BRIGHT & BRIGHTER CO,. LTD. @ 2006. All rights Reserved